วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

18 สิงหาคม "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" 




               พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้คำนวณปรากฏการณ์สุริยุปราคาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 โดยทรงได้คำนวณปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ล่วงหน้าถึงสองปี และเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนี้กับราชอาคันตุกะยังบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนได้ชื่อว่า "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ส่วนประชาคมดาราศาสตร์สากลได้เรียกสุริยุปราคาในครั้งนี้ว่า "King of Siam's eclipse" (อุปราคาของพระเจ้ากรุงสยาม)
               พระองค์ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึงสองปี ว่าเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ ตำบลหว้ากอ ตรงละติจูด 11 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 99 องศา 39 ลิปดาตะวันออก สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นนานที่สุดอยู่ตรงเชิงเขาหลวง โดยที่พระองค์ทรงคำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีอยู่ในหลักฐานการคำนวณของหอดูดาวกรีนิซแต่อย่างใด
                ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"





 คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2532 : พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2533 : เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2534 : ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2536 : วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2537 : ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2538 : เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2539 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2540 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2541 : พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2542 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2543 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2544 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2545 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2546 : เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2547 : เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2548 : วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2549 : เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2550 : วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2551 : วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2552 : วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2553 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2555 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2556 : ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2557 :  จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันก่อตั้ง "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" 8 สิงหาคม

             



               วันอาเซียน 8 สิงหาคม มีต้นกำเนิดจากวันก่อตั้งสมาคมอาเซียน ที่ตัวแทนจาก 5 ประเทศสมาชิก ได้มาร่วมลงนามความร่วมมือ ที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 

              อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5 ประเทศสมาชิกที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ที่วังสราญรมย์ จ.กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย

           โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก

            หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542

          วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

           ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดให้ วันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันก่อตั้งสมาคมอาเซียน ถือเป็นวันสำคัญในการจัดกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ในแต่ละประเทศสมาชิก และในปัจจุบันได้มีการเรียกชื่อวันก่อตั้งสมาคมอาเซียนเพียงย่อ ๆ ว่า วันอาเซียน เพื่อให้สะดวกต่อการจดจำนั่นเอง









วันรพี (7 สิงหาคม)


วันรพี (7 สิงหาคม)
              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติ ณ วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ทรงเป็นต้นราชสกุล "รพีพัฒน์"

              พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในปี 2437 ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น องคมนตรี เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานตรวจพระราชกำหนด บทพระอัยการเก่าใหม่ เป็นต้น

              ผลงานสำคัญ คือ ทรงจัดทำกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 นับเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ได้ทรงสอนตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บพิมพ์ลายมือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพิสูจน์ลายมือ พระองค์ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายและทรงประทานสอนวิชากฎหมายให้แก่ นักเรียนทุกลักษณะวิชา อาทิ บุคคล ทรัพย์ ผัวเมีย มรดก ฯลฯ ซึ่งต่อมาได้พิมพ์คำบรรยายเป็นวิทยาทาน เรียกว่า “เล็กเชอร์ราชบุรี” ทรงจัดพิมพ์กฎหมายตราสามดวงหรือประมวลกฎหมาย จุลศักราช 1166และทรงเป็นกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127พร้อม จัดทำอุทธาหรณ์และคำอธิบายตัวบทกฎหมายรวมทั้งจัดทำฉบับเทียบ เพื่อช่วยให้สะดวกแก่การแปลตัวบทกฎหมายสำหรับการปฏิบัติงานของผู้พิพากษา อัยการและทนายความ นับได้ว่าทรงวางรากฐานของกฎหมายไทยไว้มากมาย ทำให้วิชาชีพกฎหมายได้พัฒนาเป็นวิชาชีพชั้นสูง จนกลายเป็นวิชานิติศาสตร์ที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ จนทุกวันนี้