วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

๕ ธันวามหาราช



๕ ธันวามหาราช
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
          พระนามของพระองค์มีความหมายว่า ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"  อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๖๘ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่ามหาราชาองค์ใดในโลกและบูรพกษัตริย์องค์ใดในแดนสยาม และเป็นเวลา ๖๘ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิ งถวัลยราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ว่า  "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม"


วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

25 พฤศจิกายน วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า



 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2468 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระโลหิตเป็นพิษ ขณะมีพระชนมายุเพียง 45 พรรษา เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และพสกนิกรชาวไทยอย่างล้นพ้น ดังนั้น ทางราชการจึงได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึก “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
    ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือ ด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า" 



    พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบันขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
    พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ 
    ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย



วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

น้ำดีท็อกซ์ เครื่องดื่มเทรนด์ใหม่เพื่อสุขภาพ วิตามินซีเต็ม ๆ

น้ำดีท็อกซ์ เครื่องดื่มเทรนด์ใหม่เพื่อสุขภาพ วิตามินซีเต็ม ๆ แก้ว
น้ำดีท็อกซ์ เครื่องดื่มเทรนด์ใหม่เพื่อสุขภาพ วิตามินซีเต็ม ๆ แก้ว

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Rin Silpachaiคุณ RinS Cook Book สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม

             ยุคนี้ใครไม่รู้จักน้ำดีท็อกซ์ (Detox Water) คงจะเชยไปแล้วล่ะ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเทรนด์ใหม่ที่ได้วิตามินซีเต็ม ๆ คำ สีสันสดใส แถมยังทำง่ายจนไม่น่าเชื่อ

             น้ำดีท็อกซ์ (Detox Water) หรือน้ำหมักผลไม้ เครื่องดื่มอินเทรนด์ของคนสมัยใหม่ที่จับเอาผักและผลไม้ที่ตัวเองชอบไปหมักทิ้งไว้กับน้ำเปล่าหรือน้ำแร่ธรรมชาติ จับไปแช่เย็นทิ้งไว้สัก 1-2 ชั่วโมง แล้วก็นำออกมาดื่มให้ชื่นใจสุด ๆ แถมยังได้วิตามินซีเต็ม ๆ แก้ว นอกจากจะดื่มแล้วดีต่อสุขภาพแล้ว หารู้ไม่ว่าวิธีทำนั้นง่ายมาก ๆ วันนี้เรามีวิธีทำน้ำดีท็อกซ์ หรือ Infused Detox Water จากคุณ RinS Cook Book สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม มาฝาก ใครที่อยากลองตามเทรนด์ทำน้ำดีท็อกซ์เพื่อสุขภาพแบบนี้ดื่มดู ตามมาดูวิธีทำที่สุดจะง่ายกันเลย

 สิ่งที่ต้องเตรียม

           เลมอน 1 ลูก

             มะนาว 1-2 ลูก

             ส้ม 1 ลูก

             แตงกวาลูกใหญ่ 1/2 ลูก

             ใบสะระแหน่ 1 กำมือ

             สตรอว์เบอร์รี 1/2 ถ้วย

             น้ำกรองสะอาด 12 ถ้วย

             เหยือกใบใหญ่

  วิธีทำ

             1. ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด  สไลซ์เป็นชิ้นบาง ๆ เตรียมไว้ 

             2. เรียงส่วนผสมทั้งหมดลงในเหยือก เทน้ำตามลงไปจนเต็ม นำไปแช่เย็นอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง

             ว้าว ! น้ำดีท็อกซ์นอกจากจะได้สุขภาพแล้ว คุณจะไม่ตกเทรนด์อีกด้วยนะคะ 

ที่มา http://cooking.kapook.com/view99899.html

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

วันนี้ในอดีต 2 กันยายน

2 กันยายน พ.ศ.2488 : นายพล โยฮิจิโร อุเมโซ ลงนามยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2


                 2 กันยายน พ.ศ. 2488 :  นายพล โยฮิจิโร อุเมโซ ของญี่ปุ่นลงนามยอมแพ้ต่อหน้านายพล แม็คอาเธอร์ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพสัมพันธมิตร บนเรือรบ มิสซูรี (Missouri) ของสหรัฐฯ ณ อ่าวโตเกียว คือจุดสิ้นสุดของ สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ คาดว่ามีผู้สูญเสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ประมาณ 57 ล้านคน

2 กันยายน พ.ศ.1735 : สุลต่านซาลาดิน และกษัตริย์ริชาร์ด ใจสิงห์ ลงพระนามในข้อตกลง
พักรบชั่วคราวในสงครามครูเสด

สุลต่านซาลาดิน และกษัตริย์ริชาร์ด ใจสิงห์ ลงพระนามในข้อตกลงพักรบชั่วคราวในสงครามครูเสด
2 กันยายน พ.ศ.1735 : สุลต่านซาลาดิน และกษัตริย์ริชาร์ด ใจสิงห์ ลงพระนามในข้อตกลงพักรบชั่วคราวในสงครามครูเสด

 2 กันยายน พ.ศ. 2335 ฝูงชนชาวปารีส นำตัวพวกขุนนางและบาทหลวงมากออกมาจากคุก
ก่อนสังหารหมู่ ในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

ฝูงชนชาวปารีส นำตัวพวกขุนนางและบาทหลวงมากออกมาจากคุก ก่อนสังหารหมู่ ในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

  2 กันยายน พ.ศ. 2335 ฝูงชนชาวกรุงปารีส นำตัวพวกขุนนางและบาทหลวงเป็นจำนวนมากออกมาจากคุก ก่อนสังหารหมู่ ในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

18 สิงหาคม "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" 




               พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้คำนวณปรากฏการณ์สุริยุปราคาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 โดยทรงได้คำนวณปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ล่วงหน้าถึงสองปี และเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนี้กับราชอาคันตุกะยังบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนได้ชื่อว่า "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ส่วนประชาคมดาราศาสตร์สากลได้เรียกสุริยุปราคาในครั้งนี้ว่า "King of Siam's eclipse" (อุปราคาของพระเจ้ากรุงสยาม)
               พระองค์ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึงสองปี ว่าเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ ตำบลหว้ากอ ตรงละติจูด 11 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 99 องศา 39 ลิปดาตะวันออก สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นนานที่สุดอยู่ตรงเชิงเขาหลวง โดยที่พระองค์ทรงคำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีอยู่ในหลักฐานการคำนวณของหอดูดาวกรีนิซแต่อย่างใด
                ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"





 คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2532 : พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2533 : เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2534 : ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2536 : วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2537 : ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2538 : เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2539 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2540 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2541 : พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2542 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2543 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2544 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2545 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2546 : เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2547 : เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2548 : วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2549 : เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2550 : วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2551 : วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2552 : วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2553 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2555 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2556 : ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน
          - คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2557 :  จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันก่อตั้ง "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" 8 สิงหาคม

             



               วันอาเซียน 8 สิงหาคม มีต้นกำเนิดจากวันก่อตั้งสมาคมอาเซียน ที่ตัวแทนจาก 5 ประเทศสมาชิก ได้มาร่วมลงนามความร่วมมือ ที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 

              อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5 ประเทศสมาชิกที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ที่วังสราญรมย์ จ.กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย

           โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก

            หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542

          วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

           ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดให้ วันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันก่อตั้งสมาคมอาเซียน ถือเป็นวันสำคัญในการจัดกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ในแต่ละประเทศสมาชิก และในปัจจุบันได้มีการเรียกชื่อวันก่อตั้งสมาคมอาเซียนเพียงย่อ ๆ ว่า วันอาเซียน เพื่อให้สะดวกต่อการจดจำนั่นเอง









วันรพี (7 สิงหาคม)


วันรพี (7 สิงหาคม)
              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติ ณ วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ทรงเป็นต้นราชสกุล "รพีพัฒน์"

              พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในปี 2437 ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น องคมนตรี เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานตรวจพระราชกำหนด บทพระอัยการเก่าใหม่ เป็นต้น

              ผลงานสำคัญ คือ ทรงจัดทำกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 นับเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ได้ทรงสอนตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บพิมพ์ลายมือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพิสูจน์ลายมือ พระองค์ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายและทรงประทานสอนวิชากฎหมายให้แก่ นักเรียนทุกลักษณะวิชา อาทิ บุคคล ทรัพย์ ผัวเมีย มรดก ฯลฯ ซึ่งต่อมาได้พิมพ์คำบรรยายเป็นวิทยาทาน เรียกว่า “เล็กเชอร์ราชบุรี” ทรงจัดพิมพ์กฎหมายตราสามดวงหรือประมวลกฎหมาย จุลศักราช 1166และทรงเป็นกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127พร้อม จัดทำอุทธาหรณ์และคำอธิบายตัวบทกฎหมายรวมทั้งจัดทำฉบับเทียบ เพื่อช่วยให้สะดวกแก่การแปลตัวบทกฎหมายสำหรับการปฏิบัติงานของผู้พิพากษา อัยการและทนายความ นับได้ว่าทรงวางรากฐานของกฎหมายไทยไว้มากมาย ทำให้วิชาชีพกฎหมายได้พัฒนาเป็นวิชาชีพชั้นสูง จนกลายเป็นวิชานิติศาสตร์ที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ จนทุกวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันภาษาไทยแห่งชาติ

29 กรกฏาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ
ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
         เนื่องจากได้มคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และสืบเนื่องจากปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน จึงเกิดความห่วงใยถึงปัญหาต่างๆ จึงได้จัดกรรมเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนถึงทำนุบำรุง และอนุรักษ์ภาษาไทยให้อยู่คู่ไทยตลอดไป จึงได้มีการเสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฏาคม 2542 ให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 29 กรกฏาคม เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”
       สำหรับวันที่ 29 กรกฏาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้น เพราะตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2505 โดยทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” โดยพระองค์ทรงอภิปรายและสรุปอภิปรายได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยกับความห่วงใยในการใช้ภาษาไทย คณะรัฐมนตรีจึงลงความเห็นว่าสมควรที่จะกำหนดให้ วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปีนั้นเอง
วันภาษาไทยแห่งชาติ

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
  2. เพื่อร่วมเฉลิมเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
  3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าภาษาไทย ตลอดจนช่วยทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
  4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ
  5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและ เอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ สู่สาธารณชนทั้งฐานะที่เป็นประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนชาติ

ประโยชน์ที่ได้รับจาก “วันภาษาไทยแห่งชาติ”
1. ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและ เอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ร่วมทั้งกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ”
2. บุคคลในวงการวิชาชีพ ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษาและ วงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลการใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง
3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและ สนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและ อนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป
กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ
โดยส่วนมาในวันภาษาไทยแห่งชาติ จะมีกิจกรรมทั้งของสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมการใช้ภาษา การจัดนิทรรศการ การอภิปรายทางวิชาการ การประกวรคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง เป็นต้น
มานะ มานี ปิติ ชูใจ



ที่มา: http://scoop.mthai.com/specialdays/5217.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

การประชุมมอบนโยบายการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล

           ผู้อำนวยการมนตรี สำเภา พร้อมด้วยคณะครูโรงเรียนซับสมบูรณ์วิทยาคม เข้าร่วมการประชุมมอบนโยบายการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล โดยนายพิทยา ไชยมงคล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาท เขต 40 ณ หอประชุมโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์